เกี่ยวกับคณะ

ประวัติความเป็นมา วิสัยทัศน์ พันธกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ประวัติความเป็นมา

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 โดยในช่วงเริ่มแรก เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ 1 กลุ่มวิชา คือ กลุ่มวิชาการเงินและการธนาคาร ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 เปิดสอนกลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจเพิ่มอีก 1 กลุ่มวิชา ในปี พ.ศ. 2520 เปิดสอนกลุ่มวิชาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เพิ่มอีก 1 กลุ่มวิชา และในปี พ.ศ. 2532 เปิดสอนกลุ่มวิชาการค้าระหว่างประเทศเพิ่มอีก 1 กลุ่มวิชา รวมเป็น 4 กลุ่มวิชา

การเรียนการสอนในระดับปริญญาโท เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2530 เนื่องจากเห็นว่า คณะเศรษฐศาสตร์มีศักยภาพเพียงพอ จึงเปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (ภาคค่ำ) ขึ้น เพื่อตอบสนองต่อผู้ที่ทำงานและต้องการเพิ่มพูนคุณวุฒิตนเอง

ปัจจุบัน คณะเศรษฐศาสตร์เปิดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก โดยมุ่งเน้นการสร้างบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต (ดูรายละเอียดได้ที่นี่)

วิสัยทัศน์

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นสถาบันที่ผลิตนักเศรษฐศาสตร์ที่มีทักษะด้านธุรกิจ เชี่ยวชาญกลยุทธ์การจัดการและรับผิดชอบต่อสังคม

พันธกิจ

1. สร้างสรรค์บัณฑิตที่มีความพร้อมในการประกอบอาชีพ มีคุณภาพ จริยธรรม สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
2. พัฒนาและให้บริการทางวิชาการที่เป็นพลังต่อเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาประเทศ

ทำไมต้องเรียนที่นี่

ปัจฉิมนิเทศ สานสัมพันธ์บัวชมพู ปีการศึกษา 2562
First Date Econ
ทำไมต้องเรียนที่นี่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นคณะวิชาที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2506-ปัจจุบัน มีอายุถึง 58 ปี มีใบอนุญาตให้ดำเนินการเปิดการเรียนการสอนถูกต้องครบถ้วนและได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาในทุกหลักสูตร มีจุดเด่นหลายประการ เช่น
1. มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับระดับประเทศ
2. มีคณาจารย์ที่มีคุณภาพ
3. มีหลักสูตรที่ทันสมัย
4. มีระบบการเรียนการสอนที่ทันสมัย
5. มีโครงการสหกิจศึกษา ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
6. มีโครงการส่งนักศึกษาไปฝึกงานกับภาคธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ
7. มีบัณฑิตเป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงาน
8. มีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงอุตสาหกรรม สภาหอการค้าไทย และหอการค้าจังหวัดต่างๆ
9. มีศูนย์วิจัยทางเศรษฐกิจที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ เช่น ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยังมีนโยบายพัฒนานักศึกษาตลอดระยะเวลาที่ศึกษา ดังนี้
1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมในการพัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิแห่งชาติอย่างน้อย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการในรูปแบบสหกิจศึกษาทุกหลักสูตร
3. ส่งเสริมกิจกรรมที่ให้นักศึกษาพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนิสัยรักการอ่าน และ มีพฤติกรรม ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ดี
4. จัดให้มีระบบการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการสำหรับนักศึกษาเพิ่มเติมนอกเหนือจากในชั้นเรียน

เรียนเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง?
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สามารถเลือกประกอบอาชีพต่างๆ ได้ตามความสนใจมากมายหลายอาชีพ หลายลักษณะงาน เช่น
1. นักการธนาคารในธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจต่างๆ
2. นักการเงินในบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
3. เศรษฐกรในหน่วยงานภาครัฐ เช่น กระทรวง กรม กองต่างๆ
4. นักวิเคราะห์และประเมินโครงการทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
5. นักวิเคราะห์หลักทรัพย์/นักลงทุน
6. นักธุรกิจระหว่างประเทศ ผู้ส่งออก-ผู้นำเข้า
7. นักวิเคราะห์/วิจัยด้านธุรกิจและเศรษฐกิจ
8. นักข่าวเศรษฐกิจ
9. ประกอบธุรกิจส่วนตัว
10. ที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษานักการเมือง และอื่นๆ

นอกจากตัวอย่างอาชีพที่กล่าวแล้ว ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ สามารถประกอบอาชีพต่างๆ ได้อีกมากมายหลายสาขา ทั้งในสายงานของเศรษฐศาสตร์โดยตรง และสายงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

เรียนเศรษฐศาสตร์ ม.หอการค้าไทย การตัดสินใจที่คุ้มค่า เพื่ออนาคตที่สดใส

ผู้บริหารคณะ

S__5079050

รองศาสตราจารย์ ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ

คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ

ที่ตั้งสำนักงาน: ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ อาคาร 23 ชั้น 3

และคณะเศรษฐศาสตร์ อาคาร 24 ชั้น 12

ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

– เศรษฐศาสตร์การเงิน

– เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ

– ระบบสวัสดิการและนโยบายสาธารณะ

– เศรษฐกิจดิจิทัลและเทคโนโลยี

วุฒิการศึกษา

ปริญญาเอก

Ph.D. Economics Fordham University New York

ปริญญาโท

M.A Economics Fordham University New York

MBA, Southeastern University

ปริญญาตรี

ปริญญาตรี (เกียรตินิยม)
รัฐศาสตร์ (รัฐประศาสนศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

้่ท

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐะปะนี มะลิซ้อน

ตำแหน่ง: รองคณบดีฝ่ายบริหาร
อีเมล์: [email protected]

ที่ตั้งสำนักงาน: คณะเศรษฐศาสตร์ ม.หอการค้าไทย อาคาร 24 ชั้น 12
ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
– การค้าและการลงทุนในต่างประเทศ
– เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
– เศรษฐศาสตร์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
– นวัตกรรมและการสร้างคุณค่าทางธุรกิจ
วุฒิการศึกษา
ปริญญาโท
วท.ม (เกษตรศาสตร์)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปริญญาตรี
วท.บ. (เกษตรศาสตร์)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อาจารย์กิตติวัฒน์ สุวรรณลี

ตำแหน่ง: รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

ที่ตั้งสำนักงาน: คณะเศรษฐศาสตร์ ม.หอการค้าไทย อาคาร 24 ชั้น 12

ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
– วิเคราะห์ประเมินโครงการ/ Cost Benefit Analysis
– เศรษฐกิจจีน
– อุตสาหกรรมก่อสร้าง
– อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

วุฒิการศึกษา
ปริญญาโท
ศ.ม. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ปริญญาตรี
ศ.บ. เศรษฐศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

อาจารย์ ดร.วรุตม์ สามารถ

ตำแหน่ง: รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

ที่ตั้งสำนักงาน: คณะเศรษฐศาสตร์ ม.หอการค้าไทย อาคาร 24 ชั้น 12

ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
-เศรษฐศาสตร์แรงงานและตลาดแรงงาน
-นโยบายสาธารณะด้านการศึกษาและการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital)

วุฒิการศึกษา
ปริญญาเอก
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ปริญญาโท
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปริญญาตรี
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนดลยรการผลิตพืช มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

sdzv

นางสาวสริตา ปรักกโมดม

ตำแหน่ง: เลขานุการคณะ
อีเมล์: [email protected]

ที่ตั้งสำนักงาน : คณะเศรษฐศาสตร์ ม.หอการค้าไทย อาคาร 24 ชั้น 12
วุฒิการศึกษา
ปริญญาโท
บธ.ม. สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ปริญญาตรี
ศศ.บ. สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

เครือข่ายพันธมิตร

หอการค้าไทย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
สภาหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย CITS