เศรษฐศาสตร์การเงินสไตล์ UTCC เจาะลึกพฤติกรรม ‘ไม้ตกใจ’ ในตลาดสินทรัพย์
Student blog — 27/01/2025

เนื้อหาในบทความนี้ เหมาะแก่ผู้ที่สนใจเรียนรู้พฤติกรรมการตัดสินใจด้านการเงิน โดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้า ได้เปิดสอนหลักสูตรเศรษฐศาสตร์นวัตกรรมทางธุรกิจและการเงิน ที่ผู้เรียนสามารถจัดรูปแบบการเรียนการสอนของตนเองได้ ว่าจะเน้นไปในด้านธุรกิจ ด้านการเงิน หรือทั้งสองด้านควบคู่กัน ในกรณีที่ผู้เรียนเลือกเรียนวิชาด้านการเงินนั้น คณะเศรษฐศาสตร์เปิดสอนวิชาที่น่าสนใจในหลากหลายวิชาด้วยกัน เช่น การลงทุนและการวิเคราะห์หลักทรัพย์ การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน นวัตกรรมทางการเงิน เป็นต้น ในการเรียนวิชาด้านการเงินนั้น ผู้เรียนอาจจะได้ยินคำๆนี้ ได้แก่ คำว่า อคติทางความคิด (Cognitive Bias) คือ ความผิดพลาด ความบกพร่องหรือความคลาดเคลื่อนในการตัดสินใจของมนุษย์ ที่มักเกิดขึ้นได้เสมอๆกับการตัดสินใจ (Decision Making) ในสถานการณ์หนึ่งๆ ซึ่งอคติทางความคิด สามารถพบได้บ่อย ๆ และที่น่าสนใจคือมักเกิดขึ้นได้เสมอๆ กับการตัดสินใจ (Decision Making) ในด้านการเงิน ยกตัวอย่างกับ ‘เม้าน้อย’ ในตลาดหุ้นไทย เพื่อให้ท่านผู้อ่าน ได้ “ฉุกคิด’ พินิจในพฤติกรรมตนเอง หากท่านพบว่า ‘มันใช่’ ท่านกำลังตกอยู่ใต้อำนาจของสมองอัตโนมัติ (System 1) ใน 2 ระบบ (Daniel Kahneman & Amos Tversky, 2002) เก็บเรื่องของสมองกับการความคิดและการตัดสินใจไว้ก่อน ตอนนี้ผู้เขียนขออธิบายพฤติกรรมลำเอียง (Behavioral Bias) วันนี้ ‘ไม้ตกใจ’ แบบง่าย ๆ สไตล์เด็กเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ภาพจาก https://hunterstrade.blogspot.com
‘ไม้ตกใจ’ เป็นสภาวการณ์ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ระยะสั้น ๆ ที่เกิดขึ้นได้ในตลาดซื้อขายสินทรัพย์ หรือพบเห็นได้ในตลาดหุ้น ตลาดTFEX หรือตลาดเทรดอื่น ๆ เกิดจาก นักลงทุนในตลาดมีอาการตกใจอย่างหนัก (Panic) จากหลายสาเหตุ (External factors) เช่น ข่าวประกาศผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ(Inflation) หรือการรายงานข่าวสงครามรัสเซีย-ยูเครน ความขัดแย้งกันระหว่างประเทศมหาอำนาจโลก หรือ ข่าวความรุนแรงทางการเมืองภายในประเทศ เป็นต้น ทำให้ราคาสินทรัพย์หรือหุ้น “ไหล” ลงอย่างรวดเร็วผิดปกติ ไม่มีเวลาคิดวิเคราะห์หรือตัดสินใจอย่างมีเหตุผลได้ ในช่วงของไม้ตกใจเป็นไปได้ตั้งแต่ 1-20 วินาที นักเทรดควรมีจินตนาการล่วงหน้าและแผนการเตรียมไว้ในใจ เมื่อเจอ “ไม้ตกใจ” เพื่อจะได้ตัดสินใจได้ทันทีในการเข้าซื้อหรือ “ช้อน” ซื้อหุ้นราคาต่ำมาก ที่ถูกเทขายด้วยความตกใจ หลังจากนั้นหุ้นจะ “เด่ง” ขึ้นกลับไปในเวลาที่รวดเร็วมากเช่นกัน เมื่อได้หุ้นมาจากไม้ตกใจแล้วหาจังหวะขายตอนที่แรงซื้อหมดก็เอาตัวรอดได้ แบบไม่ต้องกังวลว่า “ขายหมู” เพราะอย่างไรเสียก็ได้ “ซื้อถูกขายแพง” กำไรแน่นอน มากน้อยขึ้นกับความ “พอใจ” ไม้ตกใจ จึงเป็นการตัดสินใจที่เกิดจากอคติ(Bias)ความตกใจชนิดหน้ามือตามัว(Haro Effect) และ “คนมากลากไป” (Herd Behavior phenomena)
รศ.เรวดี พานิช คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย