Blog

เศรษฐศาสตร์พยากรณ์ : 2 ปีข้างหน้า AI จะมีผลกับเศรษฐกิจอย่างไร

economics

เศรษฐศาสตร์พยากรณ์ : 2 ปีข้างหน้า AI จะมีผลกับเศรษฐกิจอย่างไร

Student blog — 18/07/2025

เศรษฐศาสตร์พยากรณ์ : 2 ปีข้างหน้า AI จะมีผลกับเศรษฐกิจอย่างไร

ปัจจุบันโลกถูกขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้เกิดประโยชน์มากมายแก่ผู้คน สังคม และเศรษฐกิจ แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ นั่นย่อมหมายความว่ามันก็ทำให้เกิดโทษได้เช่นกันหากใช้ไม่ถูกวิธี ผู้เขียนได้ฟังคลิปหนึ่งมาที่ชื่อว่า “AI AGENTS EMERGENCY DEBATE: These Jobs Won’t Exist In 24 Months!” โดยมีผู้ร่วมพูดคุย ได้แก่ Amjad Masad (CEO ของ Replit), Bret Weinstein (นักชีววิทยาวิวัฒนาการ) และ Daniel Priestley (ผู้ประกอบการและที่ปรึกษาด้านนวัตกรรม) การพูดคุยของผู้ประกอบการและนักวิชาการมีมุมมองต่อตลาดแรงงานและปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งสรุปมาให้ผู้อ่านได้อ่านดังนี้

ผลกระทบในมุมเศรษฐศาสตร์จุลภาค

1. ผลกระทบต่อตลาดแรงงาน

อุปสงค์แรงงานบางประเภทลดลง : ผลกระทบจาก AI ทำให้บางอาชีพถูกแทนที่ได้ง่าย ได้แก่ งานที่เป็น routine task (งานที่มีเนื้องานทำแบบเดิมซ้ำๆ) ไม่ว่าจะเป็น งานธุรการ เจ้าหน้าที่พิมพ์ข้อมูล เลขานุการ นักบัญชี ผู้นำเที่ยว เจ้าหน้าที่สายการผลิตหรือควบคุมเครื่องจักร งานขนส่งและคลังสินค้า งานบริการลูกค้าพื้นฐาน มีแนวโน้มที่จะได้ค่าจ้างลดลงหรืออาจตกงานได้ง่าย และถูกแทนที่ด้วยระบบบริการตนเอง (self-service) และผู้ช่วยอัตโนมัติ (AI assistant)

อำนาจต่อรองของแรงงานลดลง : ในตำแหน่งที่กล่าวมาข้างต้นมีอำนาจต่อรองน้อยลง เพราะนายจ้างสามารถเลือกใช้โปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่สามารถทำงานอย่างอิสระตามคำสั่งหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยจะวิเคราะห์ข้อมูล ทำการตัดสินใจ และดำเนินการตามเป้าหมายนั้น ๆ อย่างอัตโนมัติ (AI agent) แทนได้ จากมุมมอง marginal productivity, หาก AI มีผลิตภาพสูงกว่ามนุษย์ในต้นทุนที่ต่ำกว่า → แรงงานมนุษย์จะถูกแทนที่

2. การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างตลาด บริษัทหรือองค์กรธุรกิจสามารถเข้าถึงการนำ AI และเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ได้มากขึ้น ในช่วงที่นำมาใช้ตอนแรกอาจจะใช้งบประมาณลงทุนนิดนึง แต่เมื่อนำมาใช้ทำให้ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย (average variable cost) จะค่อย ๆ ลดลงและต้นทุนรวม (total cost) จะลดลงในที่สุด เป็นการขยายกำลังการผลิตได้โดยไม่ต้องจ้างงานเพิ่ม เพิ่มการได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น ในสายการผลิตจะมีหุ่นยนต์รุ่นใหม่ที่ทำงานได้อย่างต่อเนื่องไม่มีหยุดพัก (continuous deployment) และสามารถคาดการณ์ได้ว่าควรซ่อมล่วงหน้าก่อนพัง (predictive maintenance) ซึ่งทำให้สายการผลิตไม่ต้องมีแรงงานมากนัก ส่วนในสายคลังสินค้าและงานขนส่งมีการใช้หุ่นยนต์และฝูงโดรนที่สามารถขนส่งสินค้าไปสู่มือผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น

ผลกระทบในมุมเศรษฐศาสตร์มหภาค

1. การว่างงานเชิงโครงสร้าง ผลจากเศรษฐศาสตร์ระดับจุลภาคที่ทำให้แรงงานตกงานมากขึ้นทำให้เกิดการว่างงานเชิงโครงสร้าง (structural unemployment) แรงงานที่ได้รับผลกระทบ คือ แรงงานที่มีทักษะที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดยุคใหม่
2. GDP และผลิตภาพแรงงาน (Productivity) การใช้ AI ช่วยเพิ่มผลิตภาพให้แรงงานมากขึ้น อาจจะทำให้ผลผลิตมากขึ้น GDP เพิ่มขึ้นถึงแม้ว่าจำนวนแรงงานจะลดลง
3. การกระจายรายได้และความเหลื่อมล้ำ การนำ AI มาใช้เพิ่มความมั่งคั่งให้กับผู้ที่ถือครองเทคโนโลยี เจ้าของทุนหรือเจ้าของแพลตฟอร์ม ในขณะที่แรงงานทั่วไปอาจได้รับผลกระทบ ทำให้มีแรงงานที่ตกงานเพิ่มขึ้น ช่องว่างรายได้ระหว่างกลุ่มชนชั้นสูงกับแรงงานกว้างขึ้น
4. นโยบายภาครัฐ (Fiscal & Monetary Policy) อาจต้องมีการ ปรับโครงสร้างนโยบายการศึกษาและแรงงาน เพื่อ reskill/upskill คนจำนวนมาก
โดยสรุปแล้ว AI อาจสร้างภาวะ “jobless growth” คือเศรษฐกิจเติบโตแต่ไม่สร้างงาน การเปลี่ยนแปลงนี้อาจคล้ายกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่เกิดเร็วกว่าและกระทบเป็นวงกว้างมากกว่า

ผู้เขียน: อาจารย์ กิตติวัฒน์ สุวรรณลี

แชร์บทความนี้

หลักสูตร