Blog

เด็กเศรษฐศาสตร์ UTCC กับการเรียนรู้พฤติกรรมการเงินผ่าน Cognitive Bias

economics

เด็กเศรษฐศาสตร์ UTCC กับการเรียนรู้พฤติกรรมการเงินผ่าน Cognitive Bias

Student blog — 14/01/2025

เด็กเศรษฐศาสตร์ UTCC กับการเรียนรู้พฤติกรรมการเงินผ่าน Cognitive Bias

หลักสูตรเศรษฐศาสตร์นวัตกรรมทางธุรกิจและการเงินที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดสอนอยู่ในขณะนี้ ผู้เรียนสามารถจัดรูปแบบการเรียนการสอนของตนเองได้ ว่าจะเน้นไปในด้านธุรกิจ ด้านการเงิน หรือทั้งสองด้านควบคู่กัน ในกรณีที่ผู้เรียนเลือกเรียนวิชาด้านการเงินนั้น ผู้เรียนอาจจะได้ยินคำๆนี้อยู่เสมอ ได้แก่ คำว่า Cognitive Bias หรืออคติทางความคิด ที่มักเกิดขึ้นได้เสมอ ๆ กับการตัดสินใจ (Decision Making) ในสถานการณ์หนึ่งๆ ยกตัวอย่างการ ‘เม้าน้อย’ ในตลาดหุ้นไทย มักมีพฤติกรรมแปลกในการตัดสินใจลงทุน และนักเศรษฐศาสตร์การเงินหรือนักการเงินหลังวิกฤตทางการเงินเกิดขึ้นหลายครั้ง ในวัฏจักรเศรษฐกิจที่ผ่านมา ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักลงทุนที่เรียกว่า Behavior Finance อคติที่พบบ่อย ๆ มีหลายแบบที่จะนำมาพูดคุยให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแบบง่าย ๆ สไตล์เด็กเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

เด็กเศรษฐศาสตร์ UTCC กับการเรียนรู้พฤติกรรมการเงินผ่าน Cognitive Bias

อาการ Snake – Bite Effect กลัวงูกัด (ซ้ำอีก) ถึงขั้นหลอน “งู” เป็นอคติแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ในนักลงทุนที่มีพฤติกรรมเข้าซื้อขายในตลาดสินทรัพย์ระยะสั้นๆ (One-day Trade) เพื่อหา “ค่ากับข้าว” กลับบ้าน เกิดจากสาเหตุได้หลายทาง เช่น ฟังข่าวลือ ถือเสียงเพื่อน เตือนไม่ฟัง มั่นหน้ามั่นใจกับข้อมูลที่เชื่อถือเองสุดๆ ทำให้เกิดความ “กล้า” ตัดสินใจซื้อหุ้นในราคาสูง ที่คาดหวังว่าราคาหุ้นนั้นจะได้ไปต่อหลายเท่านัก แต่แล้ว “ความแขยง”เกิดขึ้นเมื่อสิ่งนั้น ไม่เป็นไปตามคาด ราคาหุ้นสวนทางในเวลาที่เจ้าหนี้ก็สวนรอ (เราจ่ายคืน) ความเจ็บปวดหนักเบาแปรผันตามความสูญเสียที่ไม่ได้คาดหวัง (loss Aversion) และที่กลัวจนหลอนก็เพราะ “ขาดทุนหนัก” จนจดจำถึงจิตใต้สำนึกเบื้องลึกสุดใจ ในกลุ่มนักลงทุนประเภทเก็งกำไร (Speculator/Trader) และไม่กล้ากลับไปซื้อหุ้นตัวนั้น หรือ “เล่นกับมันอีก” บางคนต้องใช้เวลารักษาเยียวยาจิตใจนานพอควร บางคนถึงขั้นขอลาออกจากการเป็นนักลงทุนไปเลยก็มีให้เห็นหลังวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหญ่ๆ วิธีการหลีกเลี่ยงอคติ Snake – Bite Effect คือ วางแผนล่วงหน้า (pre-design) ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำดีกว่า หรือ นิสมฺม กรณํ เสยฺโย (It is advisable to think before doing anything)

รศ.เรวดี พานิช คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย